การปกครองแบบประชาธิปไตยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่ ประชาธิปไตยสายตรง และประชาธิปไตยตัวแทน เป็นระบบที่คัดตัวแทนมาขึ้นมาจากประชาชน เพื่อเข้ามามีบทบาทในการออก นโยบาย กฎหมาย และสิ่งอื่นๆ ทีเกิดขึ้นของรัฐบาลในนามของประชาชน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปไม่จำเป็นต้องลงคะแนนเสียงในทุกประเด็นที่แยกกันเช่นเดียวกับในระบอบประชาธิปไตยโดยตรง ที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเลือกผู้นำประเทศ มีอำนาจในการบริหารและตัดสินทางการเมือง โดยถือเป็นรัฐบาลของประชาชน
อำนาจประชาธิปไตยตัวแทน
1.มอบอำนาจให้กับประชาชน
รัฐบาลจำเป็นจะต้องใช้เสียงส่วนมากของประชาชนเพื่อการตัดสินใจ ประชาชนจะเป็นจุดยืนที่สำคัญที่เป็นตัวแทนในของการตัดสินใจในรัฐบาล
2.เป็นตัวถ่วงดุลอำนาจการตัดสินใจ
ในระบอบประชาธิปไตย ตัวแทนของรัฐบาลทุกตำแหน่งจะต้องมีอำนาจเท่าเทียมกัน แต่ด้วยความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ แต่ละคนคอยดูแลกันและกันเพราะไม่มีสาขาใดของรัฐบาล ที่สามารถใช้อำนาจทั้งหมดได้เพียงลำพัง โครงสร้างนี้ทำให้แต่ละตัวแทนสามารถเสนอความเห็นเกี่ยวกับกฎหมาย หรือนโยบายได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3.ทุกคนมีโอกาสแสดงจุดยืน
ตราบใดที่คุณมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง คุณจะได้มีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าบางคนจะคิดว่าคำแนะของพวกเขาไม่ค่อยมีค่า แต่ความสามารถในการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งนั้นจะไม่ได้ลดลง หากคุณสามารถลงคะแนน ทุกคนก็จะได้รับรู้ในการตัดสินใจของคุณ
4.ช่วยให้รัฐบาลตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
ในสถานการณ์ฉุกเฉินระบอบประชาธิปไตยจะอนุญาตให้รัฐบาลดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องรอผลการอนุมัติจากประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถดูสถานการณ์รวม และตัดสินใจแนวทางที่ดีที่สุดแล้วดำเนินการแก้ไขปัญหา
5.ส่งเสริมให้ผู้คนมีส่วนร่วมในการปกครอง
เมื่อประชาชนรู้ว่ามีสิทธิในการร่วมปกครอง พวกเขามีแนวโน้มที่จะออกมามีส่วนร่วมในการเลือกตั้งมากขึ้น เมื่อมีการตัดสินใจที่สำคัญจะต้องทำ จะมีคนจำนวนมากขึ้นที่จะออกมาลงคะแนน
อำนาจประชาธิปไตยสายตรง
1.ให้สิทธิ์แก่ประชาชนในการลงคะแนน
สิ่งสำคัญที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองได้ คือการออกเสียงเพื่อเลือกผู้นำประเทศของตน พวกเขาจะเลือกคนที่เหมาะสมเพื่อจะมาเป็นตัวแทนในการบริหารประเทศ
2.เปิดให้มีการเปลี่ยนแปลง
ในระบอบประชาธิปไตยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเลือกตั้ง ไม่สามารถอยู่ในอำนาจได้นานตามความต้องการของตน เพราะพวกเขาผูกพันกับรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ต้องยุติวาระการดำรงตำแหน่งตามเวลาที่กำหนด เช่นนายกรัฐมนตรี หรือ ประธานาธิบดี จะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้วาระละ 4 ปี โดยต้องไม่เกิน 8 ปี
3.ส่งเสริมความเท่าเทียมกัน
ในระบอบประชาธิปไตยมีความเสมอภาคกันในหมู่ประชาชน เนื่องจากใครก็ตามที่มีอายุบรรลุนิติภาวะ และเป็นพลเมืองของประเทศมีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนน